- แก๊สชีวภาพที่ได้สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารในครัวเรือน
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อแก๊สหุงต้มได้ถึง 25% ต่อเดือน
- การนำแก๊สชีวภาพมาใช้นั้นสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้มได้
- สามารถลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ของมูลสัตว์และเศษอาหารได้
- ผลผลิตพลอยได้ที่ได้จากโครงการแก๊สชีวภาพสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพเพื่อทำให้พืชผักแข็งแรง
- ถังพลาสติก 200 ลิตร ปิดฝา 1 ใบ
- ถังพลาสติก 200 ลิตร เปิดฝา 1 ใบ
- ถังพลาสติก 150 ลิตร เปิดฝา 1 ใบ
- หัวแก๊สพร้อมขาตั้ง 1 ชุด
- ข้อต่อ
- ท่อระบาย
- ท่อเติมวัตถุดิบ 1 ชุด
ถังหมักให้เจาะช่องสำหรับเติมวัตถุดิบ โดยท่อเติมมีขนาด 3 นิ้ว ยาว 40 เซนติเมตร สำหรับช่องน้ำล้นให้เจาะบริเวณก้นถังต่อท่อขึ้นมาประมาณ 70 เซนติเมตร ส่วนถังเก็บแก๊สให้ใช้ถัง 2 ใบ โดยใบหนึ่งเล็กกว่าคว่ำลง ส่วนถังอีกใบใหญ่หงายใส่น้ำไว้เต็ม จากนั้นต่อท่อระหว่างถังหมักกับถังเก็บและต่อท่อจากถังเก็บไปใช้งาน
การเติมวัสดุ
- วันที่ 1 ใช้มูลสัตว์ผสมน้ำให้เหลวพอประมาณ จำนวน 50 ลิตร เทใส่ในถังหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 - 15 วัน
- วันที่ 16 เติมน้ำพร้อมเศษอาหาร 1 กิโลกรัม ให้อยู่ในระดับท่อน้ำล้น (หรือส่วนที่ 3 ของถังหมัก) ประมาณ 24 ชั่วโมงจะเริ่มมีแก๊สให้ใช้ได้แล้ว
- วันที่ 17 และวันต่อไป เติมเศษอาหารหรือผักผลไม้สับให้เป็นชิ้นเล็กที่สุด 1 กิโลกรัม ผสมน้ำครั้งละ 1 - 2 ลิตร
เทคนิคที่ควรทราบ
- ไม่ควรเติมวัสดุที่เป็นกรด เพราะจะทำให้ไม่เกิดแก๊ส เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว หรือพืชที่เป็นเส้นใยเนื่องจากทำให้การถ่ายเทยาก
- มะละกอ ผักตบชวา หน่อไม้ กากถั่วเหลืองจะช่วยให้เกิดแก๊สได้ดี (โดยทำให้มีขนาดชิ้นเล็กที่สุด)
- การเติมวัสดุมากหรือน้อยสามารถกำหนดได้โดยสังเกตจากการเกิดแก๊ส
- เมื่อเติมวัสดุแล้วควรใช้ไม้กวนเศษวัสดุให้ผสมกับน้ำ
- การเก็บแก๊สนอกจากเก็บโดยถังที่คว่ำในน้ำแล้ว สามารถประยุกต์ใช้วัสดุอื่นๆ ในการเก็บแก็สเช่น เก็บไว้ในยางรถยนต์
ที่มา : ศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลักไม้ลาย จังหวัดนครปฐม
กลับสู่หน้า "ไร่ชญาทิพ"
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น