Subscribe:

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน (Vermiculture) เป็นการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากไส้เดือนดิน โดยเฉพาะผลผลิตที่ได้คือปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน (vermicomposting) เป็นการนาวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือเป็นการจัดการทาให้สภาพแวดล้อมในระบบนิเวศเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การใช้ไส้เดือนเป็นตัวหลักในการจัดการเศษของเสียเพื่อเปลี่ยนให้เป็นวัสดุที่ มีสารอาหารพืชสูงและพร้อมที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืช โดยใส่ลงในพื้นที่การเกษตรเพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ หรือเพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางการค้าเป็นวัสดุในการปลูกไม้ดอกไม้กระถางหรือเป็นวัสดุสาหรับปลูกพืชอื่นๆอย่างหลากหลาย

หลักการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

การเลี้ยงไส้เดือนมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เลี้ยง ตั้งแต่แบบง่ายๆ ใช้วัสดุในท้องถิ่น ลงทุนน้อย ไปจนถึงการทาโรงเรือนผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ลงทุนสูง เช่น เลี้ยงบนพื้นดินโดยทากองเลี้ยงให้สูงจากพื้นเล็กน้อย หรือ ขุดร่อง เป็นแปลงลงบนพื้นดินปกติ หรือ ก่ออิฐฉาบปูนเป็นบล็อกเลี้ยงก็ได้ หรือถ้าผลิตปุ๋ยขนาดใหญ่ อาจสร้างโรงเรือนถาวร มีระบบการเลี้ยงที่เป็นระบบตั้งแต่การให้อาหารไปจนถึงการเก็บปุ๋ย สาหรับ หลังคากันแดด หรือฝน อาจทาด้วยวัสดุง่ายๆ เช่น มุงด้วยหญ้าคา ใบจาก หรือ ตาข่ายพรางแสง(ซาแรน) ไปจนถึงการใช้หลังคาที่มีโครงสร้างแข็งแรงอายุใช้งานได้นาน นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็ก ในครัวเรือน ซึ่งอาจประยุกต์ใช้วัสดุที่มีอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ เช่น กะละมัง ถังพลาสติก ยางรถยนต์ วงบ่อปูนซีเมนต์ เป็นต้น
การเลี้ยงไส้เดือนแบบกองบนดินธรรมดา
การเลี้ยงไส้เดือนโดยทาร่องบนพื้นปูน
การเลี้ยงในกระบะอย่างง่าย
การขุดร่องลึกลงในดินบุด้วยพลาสติก
การก่ออิฐฉาบปูน ทาเป็นบล็อกเลี้ยงแบบต่างๆ
การเลี้ยงแบบเป็นกองในโรงเรือน
การเลี้ยงในบล็อกภายในโรงเรือนแบบง่ายๆ
การเลี้ยงแบบบล็อกกลางแจ้ง
 ขั้นตอนกำรเลี้ยงไส้เดือนโดยทั่วไป อำจปฏิบัติได้ ดังนี้
  1. เลือกพื้นที่เรียบหรือไม่มีหินหรือเศษแก้วที่เป็นอันตราย นาดินร่วนปูพื้นกว้างประมาณ 1 เมตร สูง 0.30 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่และปริมาณของขยะหรือของเสีย
  2. ให้ความชื้นกับพื้นวัสดุให้พอชื้นไม่ต้องแฉะ
  3. นามูลวัวหรือเศษอินทรียวัตถุ โรยทับให้หนาประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วรดน้าให้ ความชื้นอีกครั้ง
  4. นาไส้เดือนท้องถิ่นมาปล่อยในกอง
  5. รดน้ากองไส้เดือนทุกวัน
  6. ไส้เดือนจะกินเศษอาหารและมูลวัวแล้วถ่ายมูลเป็นขุยบนกองเลี้ยง เก็บมูลทุกๆสัปดาห์แล้วนามาตากในร่ม ไส้เดือน 1 กิโลกรัม จะผลิตขุยได้ประมาณ 10 กิโลกรัม ภายใน 45-60 วัน
  7. เมื่อวัสดุเพาะเลี้ยงหมดให้นาวัสดุเพาะเลี้ยงมาใส่ใหม่เหมือนขั้นตอนแรก
  8. โกยขุยไส้เดือนออกมากองข้างๆกองเดิมและเมื่อกองวัสดุเพาะเลี้ยงเดิมเริ่มแห้ง ไส้เดือนจะย้ายไปอยู่ด้านใต้ของกอง
  9. เก็บส่วนบนของกอง 3 ใน 4 ส่วนของกอง แยกไส้เดือนแล้วใส่ไส้เดือนกลับไปในกองใหม่
  10. ควรเปลี่ยนกองทั้งหมดภายใน 6 เดือน ทั้งนี้เมื่อกองเพาะเลี้ยงเริ่มแน่น ไส้เดือนไม่สามารถชอนไชได้
  11. การเลี้ยงเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งปี ควรมีการสร้างกองไว้หลายๆกองและเก็บข้อมูลสลับกันไปได้ทั้งปี
สิ่งที่ควรคำนึง
  1. กองเพาะเลี้ยงหรือกระบะต้องทาในที่ร่มเพื่อป้องกันแสงแดดและฝน
  2. จะต้องรดน้าอย่างสม่าเสมอ
  3. ไม่ควรใช้ปุ๋ยคอกใหม่
  4. มูลวัวควรตากให้แห้งและควรบดก่อนนามาใช้
  5. การใช้มูลสัตว์ชนิดอื่นๆ ควรมีการผสมกับมูลวัวก่อน
  6. ไส้เดือน 1 กิโลกรัม มีจานวนประมาณ 1,000 ตัว
  7. ไส้เดือน 1 กิโลกรัมจะกินอาหารได้ 5 กิโลกรัมต่อวัน
  8. ไส้เดือน 10 กิโลกรัม จะกินอาหารได้ 1 ตันต่อเดือน
  9. ไส้เดือน 1,000 ตัว สามารถเลี้ยงในพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร
  10. ควรใช้ไส้เดือนสีเข้มที่พบบริเวณผิวหน้าดินถึงลึก 25 ซม. สาหรับเลี้ยงทาปุ๋ยมูลไส้เดือน
  11. ระหว่างฝนตกให้นามูลวัววางตามยาวของกองเพาะเลี้ยงป้องกันไส้เดือนหลบหนี
รูปแบบกำรเลี้ยงไส้เดือนด้วยภำชนะแบบต่ำงๆ (อำนัฐ ตันโช, 2551)

1. การเพาะเลี้ยงในถังน้้าหรืออ่างพลาสติก
  • เลือกถังน้าหรืองอ่างพลาสติก สาหรับเพาะเลี้ยงไส้เดือน ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 12 นิ้ว พร้อมหาอ่างสาหรับรองกันถังหรืออ่างเลี้ยง
  • เจาะรูที่ก้นภาชนะเพื่อระบายน้ามูลไส้เดือนและเจาะฝาปิดภาชนะเพื่อระบายอากาศ
  • นำเศษอิฐหรือก้อนหินเล็กๆใส่ในตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มแบนๆวางไว้ที่ก้นถัง เพื่อให้น้าระบายได้สะดวกและไม้อุดรูที่ก้นภาชนะ
  • ทาพื้นเลี้ยงโดยผสมดินร่วนกับมูลวัว อัตราส่วน 4:1 แล้วรดน้าให้ความชื้น 80-90 เปอร์เซ็นต์
  • นำวัสดุพื้นเลี้ยงที่ผสมแล้วใส่ลงในภาชนะให้มีความหนาจากก้นภาชนะอย่างน้อย 3 นิ้ว
  • นำไส้เดือนมาปล่อยลงหนาแน่นประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (โดยพิจารณาจากปากภาชนะ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ใช้ไส้เดือน 1 กรัม)
  • ใส่มูลวัวตรงกลาง 1 กอง เพื่อเป็นอาหารไส้เดือนและป้องกันไส้เดือนหนีจากสภาพแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย
  • นำน้ำยาล้างจานหรือสบู่มาทาที่บริเวณปากภาชนะ เพื่อป้องกันการเลื้อยหนีออกจากภาชนะเลี้ยงในระยะแรก
  • ปิดฝาภาชนะเพื่อรักษาความชื้นและกันแมลง หรือสัตว์ศัตรูอื่นๆ
  • นำภาชนะไปตั้งไว้บริเวณที่ร่ม ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่โดนแดดหรือฝน
  • นำเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ให้ไส้เดือนย่อยสลาย โดยให้บางๆ ป้องกันความร้อนจากการหมักหากไส้เดือนย่อยไม่ทัน ไส้เดือนอาจหนีออกจากภาชนะได้
2. การเพาะเลี้ยงในตู้ลิ้นชักพลาสติก
  • ลิ้นชักพลาสติกแบบ 4 ชั้น
  • เจาะรูระบายอากาศในชั้นบนสุดของลิ้นชัก
  • เจาะรูที่ลิ้นชักชั้นที่ 2 3 และ 4 ยกเว้นชั้นล่างสุดไม่ต้องเจาะ เพื่อใช้สาหรับรองรับน้ามูลไส้เดือน
  • ใส่พื้นเลี้ยงลิ้นชักชั้นที่ 2 3 และ 4 หนาประมาณ 1ใน 4 ของความสูงชั้นลิ้นชัก
  • รดน้้ำให้ความชื้น 80-90 เปอร์เซ็นต์
  • นำไส้เดือนมาปล่อยชั้นที่ 2 3 และ 4 ชั้นละประมาณ 100 ตัว
  • ทาน้ำยาล้างจานหรือสบู่บริเวณปากลิ้นชัก
  • นำลิ้นชักไปไว้ในร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่โดนแดด หรือฝน
  • ดูแลเติมเศษอาหารอย่างสม่าเสมอ แต่ไม่ควรเติมหนาเกินไปโดยสังเกตการย่อยของไส้เดือนด้วย
3. การเลี้ยงไส้เดือนในวงบ่อซีเมนต์
  • หาวงบ่อปูนซีเมนต์ที่มีพื้นและรูระบายน้า
  • นาวงบ่อไปไว้ในบริเวณที่ร่ม ไม่โดนแดดหรือฝน อากาศถ่ายเทสะดวก
  • ล้างวงบ่อด้วยน้าสะอาด 2-3 รอบ แล้วแช่ด้วยต้นกล้วยทิ้งไว้ 3-5 วัน เพื่อลดความเค็มของปูนซีเมนต์
  • นำก้อนอิฐหรือก้อนกรวดใส่ตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มวางไว้อุดบริเวณรูระบายน้าด้านในวงบ่อ
  • ใส่พื้นเลี้ยง (ดินร่วนผสมมูลวัวอัตรา 4 ต่อ 1) ใส่ในวงบ่อหนา 3 นิ้ว
  • ใส่ไส้เดือน 100 ตัว ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางวงบ่อซีเมนต์ 1 เมตร
  • ทาสบู่หรือน้ายาล้างจานบริเวณขอบบ่อเป็นแถบกว้าง 1-2 นิ้ว ป้องกันไส้เดือนหนี
  • เติมมูลวัวและเศษขยะอินทรีย์บางๆ อย่าให้เกิดความร้อนจากการหมัก
  • ปิดฝาบ่อด้วยวัสดุแผ่นเรียบที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ไม้อัด ฟิวเจอร์บอร์ด ที่เจาะรูระบายอากาศ บริเวณฝา
  • คอยสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของไส้เดือนและอาจเติมขยะอินทรีย์ ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการย่อยของไส้เดือน
การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนกับพืชชนิดต่างๆ

อัตราการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในการปลูกพืชชนิดต่างๆ (อานัฐ ตันโช, 2550)

พืชสวนประดับ ไม้ดอกประดับ เช่น กุหลาบ เบญจมาศ มะลิ ดาวเรือง ผีเสื้อ บีโกเนีย เป็นต้น ไม้ใบประดับ เช่น เดหลี บอนสี คล้า เฟิร์น เป็นต้น
อัตราและวิธีการใช้
กระถาง - ใส่ปุ๋ยหมักไส้เดือนดินรอบโคนต้นพืชในกระถางอัตรา 200-300 กรัม/กระถาง ทุก 7-15 วันร่วมกับน้ามูลไส้เดือนที่เจือจาง 5 เท่า
แปลง- ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินรอบผิวหน้าดิน หรือผสมรองก้นระหว่างเตรียมแปลง อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยฟางข้าว ใช้ร่วมกับน้าหมักมูลไส้เดือนดินโดยเจือจางน้า 5 เท่า รด ทุก 7 วัน

พืชผัก เช่น ผักกาด ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง กะหล่าปลี แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักกาดหัว หอม กระเทียม มันฝรั่ง เป็นต้น
อัตราและวิธีการใช้
แปลง - ใส่ปุ๋ยหมักไส้เดือนดินบริเวณผิวหน้าดินหรือผสมดินระหว่างการเตรียมแปลง อัตรา 1-1.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยฟางข้าว ใช้ร่วมกับน้าหมักมูลไส้เดือนดินโดยเจือจางน้า 5 เท่า รด ทุก 7 วัน

ไม้ผล เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ ลาไย ทุเรียน ส้ม ส้มโอ องุ่น พุทรา ชมพู่ เป็นต้น
อัตราและวิธีการใช้
  • ขนาดทรงพุ่มต้น น้อยกว่า 1 เมตร – พรวนดินรอบทรงต้นแล้วใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินรอบโคนต้น อัตรา 1-2 กิโลกรัม /ต้น
  • ทรงพุ่ม 1-5 เมตร - พรวนดินรอบทรงพุ่มแล้วใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินรอบโคนต้น อัตรา 5-15 กิโลกรัมต่อต้น
  • ทรงพุ่มมากกว่า 5 เมตร – พรวนดินรอบทรงต้นแล้วใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินรอบโคนต้น อัตรา 15-20 กิโลกรัม /ต้น
  • ทุกอัตราส่วน ใส่ซ้าทุก 4 เดือน หรือในช่วงสร้างตาดอก ใช้ร่วมกับน้าหมักมูลไส้เดือนดิน โดยเจือจางน้า 2 เท่า รดรอบโคนต้นทุกเดือน
พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว อ้อย มันสาปะหลัง ข้าวฟ่าง เป็นต้น
อัตราและวิธีการใช้
ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในระหว่างไถพรวนดินอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ หรือโรยแถวปลูกในอัตราครึ่งถึง 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ใส่ 1 ครั้งต่อการปลูกพืช 1 รอบ ใช้ร่วมกับน้าหมักมูลไส้เดือน โดยเจือจางน้า 2 เท่า แล้ว รด 2 ครั้ง ต่อการปลูกพืช 1 รอบ

นาข้าว
อัตราและวิธีการใช้
ใส่ในนาข้าวระหว่างการเตรียมเทือกก่อนหว่านกล้า อัตรา 1 ตันต่อไร่ และใส่อีกครั้งก่อนข้าวออกดอก โดยใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนครึ่งตันต่อไร่ผสมกับน้าหมักมูลไส้เดือนเข้มข้น ครึ่งลิตร ต่อตารางเมตร

กล้วยไม้
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินผสมกับวัสดุปลูก 1:10 ใช้ร่วมกับน้าหมักมูลไส้เดือนดินเจือจาง 10 เท่า ฉีดพ่นทางใบ หรือกรณีกล้วยไม้ระบบรากอากาศใช้น้าหมักมูลไส้เดือนดินเจือจาง 10 เท่า ฉีดพ่นทางใบ

หมายเหตุ


พืชผักบางชนิดที่มีใบอ่อน เช่น โหระพา คึ่นไช่ กะเพรา ผักกาด ผักกาดหอม เป็นต้น ควรใช้ปริมาณน้อยๆแต่บ่อยครั้ง หากใช้มากอาจทาให้เกิดอาการ ใบไหม้ได้

ที่มา : คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และเทศบาลตำบลหาดกรวด
กลับสู่หน้า "ไร่ชญาทิพ"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น