การเลี้ยงไก่งวงในประเทศโทยเริ่มได้ความนิยมและเลี้ยงกันมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเกษตรกรหลายพื้นที่เริ่มหันมาเลี้ยงไก่งวงด้วยมีตลาดรองรับเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีชุมชนชาวคริสต์อาศัยค่อนข้างมากในทางโภชนาการเนื้อไก่งวงมีแคลเซียมสูง มีแคลอรี่ต่่ากว่าไก่ธรรมดาทั่วไปและมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าเนื้อสัตว์อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนที่สูงกว่าเนื้อไก่เนื้อวัวหรือเนื้อหมูและมีกรดอะมิโนที่จ่าเป็นต่อการสร้างโปรตีนที่สมบูรณ์ของร่างกาย
ในส่วนของหน่วยงานราชการโดยเฉพาะศูนย์วิจัยและบ่ารุงสัตว์ทับกวางอ.แก่งคอย จ.สระบุรีและสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เลย กรมปศุสัตว์ มีการน่าเข้าพ่อแม่พันธุ์และจัดการเลี้ยงไก่งวง 2 สายพันธุ์เพื่อการศึกษาวิจัยได้แก่พันธุ์ อเมริกันบรอนซ์(American Beonze) และเบลท์สวิลล์สมอลไวท์ (Beltsville Small White) โดยแยกเลี้ยงแต่ละสายพันธุ์เพื่อควบคุมไม่ให้ผสมข้ามสายพันธุ์ ส่าหรับผู้เลี้ยงในประเทศไทยพันธุ์ไก่งวงที่นิยมเลี้ยงได้แก่ อเมริกันบรอนซ์ (American Beonze) เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ (
Beltsville Small White)
นอกจากนี้ยังมีไก่งวงลูกผสม(Hybrids) ซึ่งได้จากการผสมข้ามสายพันธุ์ ท่าให้ได้รูปร่า งสีสัน ที่แตกต่างไปจากสายพันธุ์หลักอีกมากมายเช่นที่ฟาร์มไก่งวงเบญจพรศิริ ที่จังหวัดหนองบัวล่าภู นับได้ว่าเป็นแหล่งที่มีไก่งวงลูกผสมมากที่สุดถึงกว่า 10 สายพันธุ์
พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ (Beltsvill Small White)
พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ หรือ ขําวเมืองเลยมีขนาดล่าตัวปานกลางและขนาดเล็กขนสีขาว หนังสีขาวแข้งและนิ้วเท้าสีชมพูซีด ตาสีน้่าตาล จงอยปากสีเทา ปริมาณการไข่ให้ผลผลิตไข่ประมาณ 80 ฟอง/ตัว/ปี น้่าหนักมาตรฐานไก่งวง เพศผู้ น้่าหนักประมาณ 7.7
กิโลกรัม ไก่งวง เพศเมียน้่าหนักประมาณ 5 กิโลกรัม เพศผู้หนุ่ม น้่าหนักประมาณ 6.7 กิโลกรัม เพศเมียสาว น้่าหนักประมาณ 4 กิโลกรัม
วิธีสังเกตไก่งวงตัวผู้ จะมีขนคล้ายผมสีด่า แข็ง ติดอยู่ตรงบริเวณหน้าอกและตัวเมียก็มีโอกาสพบขนสีด่าผลผลิตไข่ 80 ฟอง/ปี น้่าหนักเมื่ออายุ 5 เดือน เพศผู้ประมาณ 6.7 กิโลกรัม เพศเมียประมาณ 4 กิโลกรัม น้่าหนักเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้ ประมาณ 7.7 กิโลกรัม เพศเมีย ประมาณ 5 กิโลกรัม ซึ่งทางสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เลย ท่าหน้าที่ผลิตพ่อแม่พันธุ์ไก่งวง พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท (Beltsvill Small White) ตั้งแต่ลูกไก่ จนถึงไก่อายุตั้งแต่ 1-6 เดือนพ่อพันธ์แม่พันธ์ ทั้งหมดประมาณเกือบ 1000 ตัวมีการดูแลเป็นอย่างดีในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่ฟักในตู้โรงอนุบาลโรงไก่รุ่นโรงไก่เตรียมขุนโดยที่ทางสถานีได้ตั้งชื่อใหม่ว่าไก่งวงขาวเมืองเลย
พันธุ์อเมริกันบรอนช์ (American Bornze)
พันธุ์อเมริกันบรอนช์จัดเป็นไก่งวงพันธุ์หนักขนสีบรอนช์ปนน้่าตาลด่าปลายขนสีขาวเล็กน้อยแข้งและนิ้วเท้าสีเทาอ่อนปนชมพูซีด ตาสีน้่าตาล จงอยปากสีเทาอ่อน ข้อสังเกตตัวผู้ จะมีขนคล้ายผมสีด่า แข็ง ติดอยู่ตรงบริเวณหน้าอกเป็นตัวบ่งชี้ลักษณะทางเพศของไก่งวงตัวผู้ที่อายุก่อน 12 สัปดาห์ผลผลิตไข่ 70 ฟอง/ปี น้่าหนักเมื่ออายุ 5 เดือน เพศผู้ประมาณ 11 กิโลกรัม เพศเมียประมาณ 7 กิโลกรัม น้่าหนักเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้ ประมาณ 15 กิโลกรัม เพศเมีย ประมาณ 9 กิโลกรัม
ไก่งวงคาดว่าจะเป็นหนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยง เหมือนสัตว์เศรษฐกิจอื่นๆ แนวทางและวิธีการเลี้ยง แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง คือ เลี้ยงเพื่อการจ่าหน่ายลูกไก่งวง และ เลี้ยงเพื่อจ่าหน่ายเนื้อไก่งวงไก่งวงจะเริ่มออกไข่เมื่อไก่อายุ 6 เดือน น้่าหนักประมาณ 5 -6 กิโลกรัม
ลักษณะไข่ที่ดี
จะต้องมีรูปร่างขนาดน้่าหนักและเปลือกตรงตามสายพันธุ์โดยที่เปลือกไข่ต้องแข็งไม่อ่อนหรือเปราะด๊อกเตอร์คอลลิน ฟรีแมนและทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ และวอร์วิคพบว่าโปรตีนชื่อ ovocledidin-17 เป็นกุญแจส่าคัญที่ท่าให้ไข่มีเปลือกแข็งอย่างที่เห็นและด้วยเหตุผลง่ายๆ ก็คือ โปรตีนที่จ่าเป็นดังกล่าวจะสามารถผลิตได้จากในตัวไก่เท่านั้น ดังนั้นไข่จึงไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีไก่ได้โปรตีน OC-17 ท่าหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น และเริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนสภาพของแคลเซียมคาร์บอเนตจากในตัวไก่ให้อยู่ใน รูปของเปลือกแข็งที่ใช้ห่อหุ้มไข่แดงและไข่ขาว ซึ่งหากไม่มีไก่ขั้นตอน หรือกระบวนการนี้ก็จะไม่อาจเกิดขึ้นได้และสามารถน่าไปใช้ในการหาอายุได้อีกด้วย.
เมื่อเก็บไข่มาแล้วให้ท่าความสะอาดเปลือกไข่โดยใช้น้่าเปล่าผสมน้่ายาฆ่าเชื้อชุบผ้าพอหมาดๆเช็ดเปลือกไข่โดยรอบให้ทั่ว จากนั้นเช็คคุณภาพของไข่ว่าบิดเบี้ยว หรือถ้าเปลือกแตกร้าวก็คัดออก ขนาดของไข่ก็เช่นกันไม่ควรเล็กหรือใหญ่เกินไป น้่าหนักโดยเฉลี่ยของไข่ประมาณ 55-60 กรัมต่อฟอง ซึ่งจะให้น้่าหนักแรกเกิดของลูกไก่ 53 กรัมต่อตัว เมื่อท่าความสะอาดไข่เรียบร้อยแล้วก็น่าเข้ามารอพักไว้ในห้องเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 18-20 องศาเซลเซียสแต่ไม่ควรเก็บเกิน 10 วัน เพราะอัตราเชื้อตายจะสูงน่าเข้าตู้ฟักมักจะไม่ค่อยได้ผล
ตู้ฟักไข่ของศูนย์วิจัยบ่ารุงพันธุ์สัตว์ทับกวางจะใช้ตู้ฟักระบบอัตโนมัติซึ่งจะมีการพลิกกลับไข่ทุกๆชั่วโมง โดยมีอุณหภูมิในการฟักที่ 37.5 องศาเซสเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 65-70 เปอร์เซ็นต์และควรจะเปิดตู้ฟักวันละครั้งเพื่อตรวจเช็คว่าเคื่องฟักยังคงท่างานดีอยู่หรือไม่พร้อมกันนี้จะได้ตรวจเช็คไข่ว่ามีการแตกร้าวหรือไม่หากพบจะได้คัดออกจากตู้ฟักการเลี้ยงลูกไก่งวงให้มีเปอร์เซ็นต์ความรอดสูงนั้นขึ้นอยู่ที่ความเอาใจใส่ดูแลของผู้เลี้ยง โดยจะต้องดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ขั้นตอนการฟักไข่จนถึงโตพอจับขาย โดยแม่ไก่งวง 1 ตัว จะออกไข่ประมาณ 20 ฟองแม่ไก่งวงจะฟักไข่เองประมาณ 30 วัน ไข่ไก่งวงจะใช้เวลาฟักประมาณ 28 วัน แต่เมื่อฟักไข่ไปได้ระยะหนึ่งคือประมาณ 20-25 วันควรจะตรวจอัตราการรอดหรือว่าไข่แต่ละใบมีเชื้อตายหรือไม่โดยการใช้ไฟส่องดูที่เปลือกไข่ หารพบว่ามีเชื้อตายก็ให้คัดออก เหลือแต่ไข่ที่มีเชื้อซึ่งจะพัฒนาเป็นลูกไก่ต่อไปก็ให้แยกไว้ในกะบะหรือถาดเตรียมเกิดต่อไป
คุณภูรี วีระสมิทธิ์ศูนย์วิจัยและบ่ารุงพันธ์สัตว์กบินทร์บุรี ได้ให้ข้อแนะน่าในการสร้างโรงเรือนอนุบาลลูกไก่ซึ่งจะมี 2 ลักษณะเป็นแบบกรงตั้งพื้นมีส่วนทึบและส่วนโปร่ง ติดตั้งหลอดไฟให้ความ คุณภูรี วีระสมิทธิ์ศูนย์วิจัยและบ่ารุงพันธ์สัตว์กบินทร์บุรี ได้ให้ข้อแนะน่าในการสร้างโรงเรือนอนุบาลลูกไก่อบอุ่น แก่ลูกไก่ และอีกแบบหนึ่งจะเป็นแบบกาดกกลูกไก่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ให้ดูตามความเหมาะสม ถ้าเลี้ยงมากต้องท่าเป็นโรงเรือนที่แข็งแรงมั่นคง คอกสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งหลังคามุงสังกระสี กระเบื้อง หรือหญ้าคา จะต้องสร้างโดยให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อย่าให้อับชื้น ท่าความสะอาดได้ง่าย ควรท่าความสะอาดคอกให้สม่่าเสมอเปลี่ยนวัสดุรองพื้น ใช้ปูนขาวโรยฆ่าเชื้อควรให้ความอบอุ่นลูกไก่งวง แรกเกิดถึง 1 เดือน ควรกกไฟหลอดไฟสีเหลือง 40 -60 วัตต์เพื่อให้ความอุบอุ่นกับไก่งวง โดยแขวนโคมไฟสูงจากพื้นประมาณ 3-4 นิ้ว การกกไฟในช่วง 3 วันแรกจะท่าให้ลูกไก่งวงใช้ไข่แดงให้หมด ถ้าลูกไก่งวงใช้ไข่แดงไม่หมดจะท่าให้การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ป้องกันไม่ให้ยุงกัดโดยใช้มุ้งเก่าปิด
ลักษณะของโรงเรือนที่ดี
ควรมีโครงสร้างที่แข็งแรง มีขนาดที่เหมาะสมกับจ่านวนไก่ที่เลี้ยงคือ 1 ตัวต่อตารางเมตร และควรมีวัสดุรองพื้นที่แห้งและสะอาด หน้าโรงเรือนต้องมีอ่างน้่ายาฆ่าเชื้อโรคจากภายนอกสู่โรงเรือนและจากโรงเรือนสู่ภายนอก ควรบุตาข่ายป้องกันสัตว์อื่นเข้ามาในโรงเรือน ให้อาหารส่าเร็จรูปเป็นอาหารลูกไก่เนื้อ ซึ่งมีโปรตีน 21 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า และน้่าสะอาดเวลากลางคืนควรยกอ่างน้่าออกไม่ให้น้่าและอาหารให้แต่ความอบอุ่นเพียงอย่างเดียวเพื่อป้องกันความชื้นลูกไก่จะได้ไปเป็นโรคปอดบวมและควรท่าความสะอาดพื้นและกรงทุกวันป้องกันการเกิดโรค และควรปิดฝากรงให้สนิทป้องกันอันตรายจากสัตว์อื่น
อุปกรณ์ให้น้ำให้อาหาร
ต้องจัดท่าที่แขวนไว้ และให้น่ามาท่าความสะอาดล้างตากแดดให้แห้งอย่างสม่่าเสมอ และต้องมีลานส่าหรับให้ไก่งวง เดินออกก่าลังกายด้วย ดังนั้นการสร้างโรงเรือน จึงอาจเป็นลักษณะล้อมด้วยตาข่ายหรือรั้วไม้กว้างๆ แล้วมีโรงเรือนที่มีหลังคาอยู่ บริเวณกลางคอก หรือด้านข้างก็ได้ ส่าหรับให้ไก่งวงหลบแดดหลบฝน สิ่งส่าคัญจัดเตรียมท่าคอนให้ไก่งวง เพราะนิสัยของไก่งวงชอบนอนที่สูงเนื่องจากไก่งวงมีพันธุกรรมของไก่ป่าจึงมีร่างกายที่แข็งแรงและทนโรค ลักษณะของคอนนอนจะต้องเป็นไม้กลมไม่มีเหลี่ยมเช่น ไม้ไผ่ โดยในบริเวณรอบคอนนอนอาจวางกล่องไม้หรือวัสดุส่าหรับให้ไก่งวงวางไข่เวลากลางคืนควรหาผ้าหรือตาข่ายคลุมกันยุงเมื่ออายุครบ 15 วันน่าไปใส่ในกรงปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ
การให้วัคซีนป้องกันโรค
เมื่อลูกไก่อายุ 21-30 วัน ให้วัคซีนป้องกันโรค โดยการแทงปีกทั้ง 2 ข้างและให้วัคซีนป้องกันโรค อหิวาต์ ให้เมื่ออายุ 30 วัน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก ทั้งนี้ควรให้วัคซีนนิวคลาสเซิลหลอดลมอักเสบ+และฝีดาษ กระตุ้น ช่วง 3 -4 เดือน
อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่งวง
ช่วง 0-1 เดือนให้ อาหารที่มีหัวอาหาร 22% ไม่ควรให้ปลายข้าวและข้าวเปลือกเพราะจะท่าให้ไก่งวงขี้ขาวตายและจะเข้าใจว่าเป็นอหิวาต์ตายช่วง 2-5 เดือนให้ อาหารที่มีหัวอาหาร 14% ช่วง 5 เดือน ให้ อาหารร่าอ่อนร่า++หยาบเกษตรกรอาจจะผสมเอง อาจจะน่าพืชสมุนไพรต่างๆที่ปลูกในสวน เช่น หญ้าสด ผักบุ้งหยวกกล้วย หัวมันเหงือกปลาหมอ ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน ไพร เป็นส่วนผสมหลัก และน่าไปผสมกับมันส่าปะหลังป่น 1 ส่วน ร่า 4 ส่วน และ ปลาป่นอีก 1 ส่วน มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน เพื่อใช้เป็นอาหารข้นส่าหรับเลี้ยงไก่งวงเพื่อบ่ารุงและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ไก่งวง โดยให้วันละ 1 ครั้ง ในช่วงเช้าและให้เศษหญ้า เศษผัก เป็นอาหารเสริมในช่วงบ่าย
คุณภูรี วีระสมิทธิ์ ได้ให้แนวทางการส่งเสริมและการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงไก่งวงว่าผู้ที่สนใจจะเลี้ยงไก่งวงควรจะศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนโดยอาจจะศึกษาจากผู้รู้เช่นหน่วยงานปศุสัตว์ที่ไกล้บ้าน หรือผู้ที่เคยเลี้ยงมาก่อน และความตั้งใจที่จะเลี้ยงเพื่ออะไรเช่นเลี้ยงเพื่อความสวยงาม เลี้ยงเพื่อจ่าหน่ายลูกไก่หรือเลี้ยงเพื่อเอาเนื้อทั้งนี้จะได้วางแผนการเลี้ยงได้อย่างถูกต้อง ให้ที่นี้จะแนะน่ากลุ่มผู้เลี้ยงไก่งวงครบุรี จ.นครราชสีมาซึ่งได้รวมตัวกันมาได้ระยะหนึ่งแล้วและเริ่มมีความเข้มแข็งสามารถผลิตเป็นลูกไก่หรือไก่เนื้อที่รองรับความต้องการบริโภคในพื้นที่ได้ระดับหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง
ราคาขายลูกไก่งวง
ที่ศูนย์วิจัยและบ่ารุงพันธ์สัตว์ทับกวางและสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เลยราคาลูกไก่แรกเกิด 35-45 บาทโดยประมาณ ทั้งนี้ต้องติดต่อสั่งจองล่วงหน้าส่าหรับฟาร์มทั่วไปราคาขายโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 60-100 บาท ส่าหรับไก่รุ่น 3-4 เดือนราคาขายโดยเฉลี่ย
300-400 บาทต่อตัวและหากเป็นไก่เนื้อราคา 150 บาทต่อกิโลกรัมโดยประมาณและจะแพงมากในช่วงปลายปีเนื่องจากมีความต้องการบริโภคเนื้อในช่วงเทศกาลคริสมาส ปีใหม่ หรือวันขอบคุณพระเจ้า จะมีปริมาณความต้องการสูงมากเป็นพิเศษ อาจกล่าวได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ไก่งวงสามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีอนาคตสามารถท่ารายได้ให้แก่ครอบครัวหรือชุมชนให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณะในวงกว้างอย่างแน่นอน
ท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์วิจัยบ่ารุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 18260 โทร. 0-3635-7362 หรือที่ คุณ พิชิต ชูเสน โทร 089-539-5396 สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์เลย เลขที่ 302 หมู่ที่ 11 ต่าบลศรีสงคราม อ่าเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 42130 โทร.042-841517 หรือที่ คุณ เจณรงค์ ค่ามุงคุณ 042-801-068 หรือ 081-547-2260
ฟาร์มไก่งวงเบญจพรศิริ 119 ม.5 ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวล่าภู 39000. โทร.080-4608969 086-8572747และชมรมผู้เลี้ยงไก่งวงครบุรี จ.นครราชสีมา คุณจ่าเนียร สวนงาม (ป้าหน่อย) 081-266231 คุณเปรมปวีย์ สิงหเนตรวัฒน์ 081-7308758 คุณปัจพล ด่ารงพล 084-766459
คำถามที่พบ บ่อย จากการฟักไข่ไก่งวง
ตอบลบทำไมลูกไก่ ถึงขาถ่าง ขาแบะ?
ตอบ: เกิดจากอุณหภูมิที่ไม่คงที่ ขณะทำการฟักไข่ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่ใช้ตู้ฟักหรือเครื่องฟักที่ไม่ได้มาตรฐาน อีกกรณีหนึ่งที่เป็นไปได้คือ พื้นปูรองลื่นเกินไป วิธีแก้ปัญหาคือ ให้หาไหมพรม หรือเชือกนิ่ม ๆ มาผูกขาทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน ไม่ให้ถ่างออก ทิ้งไว้ 2-3 วัน แล้วจึงแกะเชือกออก ลูกไก่จะมีอาการดีขึ้น
ทำไมลูกไก่จึงตายขณะเจาะเปลือก?
ตอบ: ปัญหานี้พบได้บ่อยครั้ง เนื่องจากความชื้นที่ไม่เหมาะสม ขณะทำการฟักไข่
ถ้าความชื้นมากเกินไป จะทำให้ลูกไก่ฟักตัวเร็วกว่าปกติ ขนาดตัวจะโต ท้องป่อง และตัวจะนิ่ม สะดือไม่แห้ง ปิดไม่สนิท
ถ้าความชื้นน้อยเกินไป ลูกไก่จะมีขนาดตัวเล็กและแห้ง น้ำหนักตัวน้อย บางตัวจะแห้งอยู่ภายในไข่ และขนจะ ติดกับเปลือกไข่ อาจทำให้ลูกไก่พิการได้
วิธีการเก็บไข่ก่อนนำเข้าฟัก ทำอย่างไร?
ตอบ: การฟักไข่โดยปกติ ควรจะฟักด้วยเครื่องฟักไข่ทันสมัยที่มีขนาดบรรจุตั้งแต่ 48-1,000 ฟอง การฟักจะแบ่งออกเป็นรุ่น ๆ โดยรวบรวมไข่ให้ได้จำนวนหนึ่ง ก่อน จึงนำเข้าตู้ฟักพร้อมกันทีเดียว เพื่อทำให้ลูกไก่เกิดเป็นชุด ๆ พร้อมกัน ในทางปฏิบัติเราจะรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุก ๆ 3-5 วัน โดยการเก็บไข่ไว้ในห้องเก็บไข่ที่มีอุณหภูมิ 65 องศาฟา เรนต์ไฮ หรือ 18.3 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80%
ขอบคุณข้อมูล https://thaiturkeyclub.wordpress.com/