ประโยชน์เพื่อให้ “พออยู่” คือการปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยาวนานซึ่งจะเน้นประโยชน์ในเนื้อไม้ได้เพื่อสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน และถือได้ว่าเป็นการออมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคตต้นไม้กลุ่มนี้ ได้แก่ ตะเคียนทอง ยางนา แดง สัก ประดู่ พะยอมพะยูง เป็นต้น
ประโยชน์เพื่อให้ “พอกิน” คือการปลูกต้นไม้ที่กินได้รวมทั้งเป็น สมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง แฮ่ม กล้วย ฟักข้าว เป็นต้น
ประโยชน์เพื่อ “พอใช้” คือการปลูกต้นไม้สำหรับใช้สอยในครัวเรือน อาทิ เผาถ่าน ทำงานหัตถกรรมหรือทำน้ำยาซักล้างไม้ในกลุ่มนี้ เช่น ประคำดีควาย หวาย ไผ่ หมีเหม็น เป็นต้น
ประโยชน์เพื่อ “พอร่มเย็น” คือประโยชน์อย่างที่ 4 ที่เกิดจากการ ปลูกป่า 3 อย่าง “พอร่มเย็น” คือป่าทั้ง 3 อย่างจะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำ ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่นเย็นฉ่ำขึ้นมา
หลักการที่ 1 การสร้าง “ป่าเปียก”
- วิธีที่ 1 ทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่าโดยใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชชนิดต่างปลูกไว้ตามแนวคลอง
- วิธีที่ 2 สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยป่าเปียก โดยอาศัยชลประทานและน้ำฝน
- วิธีที่ 3 ปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำซึ่งจะช่วยป้องกันไฟป่าเนื่องจากไฟป่าจะเกิดขึ้นหากขาดความชุ่มชื้นของสภาพป่า
- วิธีที่ 4 สร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นหรือที่เรียกว่า “Check Dam” เพื่อปิดกั้นร่องน้ำหรือลำธารขนาดเล็กๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นขยายเข้าไปทั้งสองด้านจนกลายเป็นป่าเปียก
- วิธีที่ 5 สูบน้ำจากที่สูงแล้วปล่อยให้ไหลลงมาทีละน้อย เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป “ภูเขาป่า” ให้กลายเป็นป่าเปียกช่วยป้องกันไฟป่าได้
- วิธีที่ 6 ปลูกต้นกล้วย ซึ่งสามารถอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชชนิดอื่น ในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นช่องว่างของป่ากว้าง 2 เมตร เพื่อเป็นแนวปะทะกับไฟป่า
- ปล่อย ถ้าเลือกพื้นที่เหมาะสมแล้วควรทิ้งป่าไว้ตรงนั้น ไม่ต้องไปปรับสภาพอื่นใดป่าจะเติบโตขึ้นมาเป็นป่าสมบูรณ์ได้เอง
- ปละ ในสภาพป่าเต็งรัง ป่าเสื่อมโทรมไม่ต้องไปทำอะไรเพราะตอไม้จะแตกกิ่งออกมาอีก ถึงแม้ต้นไม่สวยแต่จะกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ได้
- ประคับประคอง ไม่รังแกป่าหรือต้นไม้ เพียงแต่คุ้มครองให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติเท่านั้น
ใช้ไม้จำพวกที่มีเม็ดทั้งหลาย ขึ้นไปปลูกบนยอดที่สูง เมื่อโตมีเมล็ดพันธุ์ โดยจะลอยตกลงมาแล้วงอกในที่ต่ำต่อไป เป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ
หลักการที่ 3 ปลูกป่าธรรมชาติ
- ปลูกต้นไม้ดั้งเดิม ศึกษาก่อนว่าพันธุ์พืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไร เป็นอย่างไรแล้วปลูกเพิ่มเติมตามที่เหมาะสม
- งดปลูกไม้ต่างถิ่น ไม่ควรนำไม้แปลกปลอมหรือพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูกโดยยังไม่ได้ศึกษาอย่างแน่ชัด
การปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง และการปลูกต้นไม้ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติประกอบด้วย ต้นไม้หลากหลายทั้งชนิดพันธุ์ ช่วงอายุ และขนาดความสูงโดยแบ่งตามระบบนิเวศได้ 5 ระดับคือ
- ไม้สูง เป็นกลุ่มต้นไม้เรือนยอดสูงสุดและอายุยืนไม้ในระดับนี้ เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง ฯลฯ
- ไม้กลาง เป็นกลุ่มต้นไม้ที่ไม่สูงนัก ไม้ในระดับนี้คือ บรรดาไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ ฯลฯ
- ไม้เตี้ย เป็นกลุ่มพุ่มเตี้ย ไม้ในระดับนี้ เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ผักหวานบ้าน ติ้ว เหรียง ฯลฯ
- ไม้เรี่ยดิน ไม้ในระดับนี้เป็นตระกูลไม้เลื้อย เช่น พริกไทย รางจืด ฯลฯ
- ไม้หัวใต้ดิน ไม้ในระดับนี้เช่น ขิง ข่า มันมือเสือ บุก กวาวเครือ ฯลฯ
- ไม้เบิกนำ ไม้สะเดา มะรุม แค กล้วย อ้อย และพืชผักอายุสั้นควรหามาปลูกก่อน เพื่อสร้างแหล่งอาหารให้กับครอบครัว
- ไม้เพื่ออยู่อาศัย ควรปลูกหลังจากปลูกไม้ในข้อที่ 1 ประมาณ 1-2 ปี
- ไม้สมุนไพร จะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อมีความร่มรื่นเพียงพอ
- นาข้าว กำหนดพื้นที่ให้เหมาะสมหากมีพื้นที่เพียงพอ เพื่อเก็บข้าวไว้กินระหว่างปีโดยไม่ต้องซื้อ
- ร่องน้ำ ควรขุดร่องน้ำขนาดเล็กเพื่อให้ความชุ่มชื้นกับพื้นดินและต้นไม้ ซึ่งจะทำให้สามารถเลี้ยงปลาธรรมชาติเพื่อใช้เป็นอาหาร โดยขุดให้เชื่อมต่อกับบ่อขนาดใหญ่ปลูกต้นไม้ให้หลากหลาย เพื่อใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ช่วยลดค่าใช้จ่าย สร้างความมั่นคงซึ่งเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในครอบครัวและชุมชน
ที่มา : ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมุกดาหารประสานมิตร จังหวัดมุกดาหาร
กลับสู่หน้า "ไร่ชญาทิพ"
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น