Subscribe:

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เกษตรตามแนว "ทฤษฎีใหม่"


"ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การผลิตและการใช้งานเตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตรแนวตั้ง

เตาเผาผลิตถ่านแบบถัง 200 ลิตร เป็นเตาที่ถูกผลิตขึ้นจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น (ถังน้ำมัน 200 ลิตร) โดยได้รับการพัฒนาจนมีประสิทธิภาพการเผาไหม้ และการควบคุมอากาศภายในให้ดียิ่งขึ้นทำให้ได้ถ่านที่มีคุณภาพดี ประหยัดเวลาในการเผาถ่านสร้างประกอบได้ง่าย ราคาถูก เหมาะกับครัวเรือนที่มีการใช้ถ่านเป็นพลังงานในการหุงต้มประกอบอาหารอีกทั้งยังมีผลพลอยได้ คือ น้ำส้มควันไม้ จากการเผาถ่านที่เป็นประโยชน์

กระถินเทพาไม้โตเร็วที่น่าปลูก

กระถินเทพาเป็นไม้โตเร็วที่เหมาะสำหรับนำมาทำไม้แปรรูป ทำเฟอร์นิเจอร์ ไม้โครงสร้างต่างๆ ที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนัก ไม้อัด และเยื่อกระดาษ คาดว่าไม้กระถินเทพาจะเป็นไม้โตเร็วที่ขายได้ราคาดีกว่าไม้โตเร็วชนิดอื่น เนื่องจากลำต้นตรง มีส่วนของกระพี้บางแก่นแข็งและทนทาน ลักษณะเนื้อไม้แปรรูปง่าย มีความถ่วงจำเพาะ ประมาณ 0.56 น้ำหนัก/ปริมาตร ค่าความแข็ง (Hardness) 4,900 นิวตัน

หมูหลุมดินชีวภาพ

ถ้าเป็นเมื่อสี่ห้าปีก่อน เมื่อเอ่ยถึงหมูหลุมคงมีคนน้อยคนมากที่รู้จัก คนที่ได้ยินส่วนใหญ่คงจะตั้งคำถามว่าหมูอยู่ในหลุมได้ด้วยหรือ แต่มาถึงวันนี้คนที่สนใจข่าวสารทางการเกษตรส่วนใหญ่คงพอจะคุ้นชื่อแม้ว่าบางคนจะไม่ทราบรายละเอียด เพราะเรื่องนี้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้งมาก อย่างไรก็ตามคงมีคนไม่มากนักที่ทราบรายละเอียดอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราชาวสถานีฟาร์มฝึกนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาพอสมควร และยังได้รับมอบหมายจากศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนอำเภอวังสะพุงจังหวัดเลยให้เป็นหน่วยงานที่ติดตามดูแลเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงหมูหลุม จึงขอถ่ายทอดประสบการณ์จากการปฏิบัติงานให้ท่านที่สนใจได้รับทราบ ท่านที่สนใจต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ก็ขอให้ติดต่อกับทางเราได้โดยตรง

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การดักกุ้งฝอยในแหล่งน้ำธรรมชาติ (จากคลิปยูทูปสู่ภาคสนาม)

ภูมิปัญญาชาวไทยในการทำไซดักกุ้งฝอยที่ผมได้ไปดูมาจากคลิปต่างๆ บนยูทูปนั้นบอกได้เลยว่ามีการดัดแปลงมาจากของเหลือใช้นี้เอง ของเหลือใช้ที่ว่าก็คือขวดน้ำอัดลมพลาสติก  เพียงแค่นำมาตัดเป็นสองท่อนแล้วกลับท่อนหัวด้านบนสวมกลับลงไปอีกท่อน เจาะรูระบายน้ำ เสียบด้วยไม้หรือมัดด้วยเชือกแล้วแต่ความถนัดหรือพื้นที่ในการดักนั้นๆ และหลังจากนั้นก็ใส่เยื่อล่อจำพวก อาหารปลา ข้าวเหนียวหรือกะปิปั้นเป็นก้อนๆ ห่อผ้าบางๆ ก็ได้ สอดใส่ในตัวไซ แล้วนำไปใส่วางไว้ให้จมน้ำริมฝั่งแม่น้ำหรือเสียบก็ได้ในกรณีที่น้ำไม่ลึกจนเกินไป แล้วทิ้งไว้ 1 คืน ตอนเช้ามาเก็บไซจะพบว่า มีกุ้งฝอยจำนวนมากเข้าไปอยู่ในไซ สามารถนำกุ้งฝอยมาทำเป็นอาหารหรือถ้าทำไซดักกุ้งฝอยหลายๆ อัน สามารถดักกุ้งฝอยเพื่อจำหน่ายในชุมชนได้เลย

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ปราชญ์เกษตรขุมกำลังฟื้นประเทศ ตอนที่ 1 พ่อเลี่ยมและลุงอ้วน

หากทิศทางของโลกมันจะย้อนกลับเข้าสู่ยุคขาดแคนทรัพยากรเข้าซักวันหนึ่ง  ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน ผลหมากรากไม้ อากาศดีๆ เราๆ ท่านๆ คงเดือดร้อนกันน่าดูและคงไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ และที่สำคัญประเทศไทยนั้นเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารให้โลกที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก สิ่งที่ผมหวั่นวิตกก็คือหากเราไม่ถือดุลความได้เปรียบนี้ไว้ดีๆ เอาแต่จะคิดมีตังค์ หากวันหนึ่งตังค์มีค่าน้อยกว่าอาหารขึ้นมาเราคงยุ่งหากเราตกหลุ่มเสียเปรียบต่างชาติไปหมดแล้ว ในช่วงหลายๆ มานี้ผมเริ่มอุ่นใจขึ้นมามากเพราะได้มีการโปรโมทคนกลุ่มหนึ่งที่ผมถือว่าเป็นกำลังสำคัญที่จะฟื้นฟูเกษตรกรรมที่ถูกหลักให้กลับคืนสู่วิถีชีวิตของคนไทย กลุ่มคนเหล่านั้นคือเกษตรกรที่ดำเนินชีวิตเกษตรแบบวิถีพอเพียงตามรอยคำสอนของพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย

การเพาะเห็ดตับเต่าแบบยั่งยืน

เห็ดตับเต่า เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ลักษณะดอกค่อนข้างใหญ่ หมวกเห็ดมนทรงกระทะคว่ำ ผิวมัน เนื้อแข็ง ดอกสีน้ำตาลเข็ม ด้านล่างหมวกมีสปอร์กลมเล็ก ๆ สีเหลือง ก้านหมวกอวบใหญ่ ยาว 4 - 8 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 - 4 ซม. โคนก้านหมวกโป่งเป็นกระเปาะ ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ เมื่อผ่าดูเนื้อในเห็ดถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินอมเขียวเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ชาวภาคเหนือและภาคอีสานจะนิยมรับประทานกันมาก มีความต้องการของตลาดสูง ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู จะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อให้ราคาสูงมีการซื้อ – ขาย ถึงกิโลกรัมละ 80 -120 บาท ทางภาคเหนือเรียกว่า “เห็ดห้า” เนื่องจากมักเจอเห็ดตับเต่าอยู่ใต้ต้นหว้า(ต้นห้า) ทางภาคอีสานเรียกว่า“เห็ดผึ้ง” หรือ “เห็ดเผิ่ง” เพราะเมื่อนำเห็ดตับเต่าไปประกอบอาหาร สีของน้ำแกงจะเหมือนสีน้ำผึ้ง