วัสดุ/อุปกรณ์
- ถังบรรจุก๊าซขนาด 16 กิโลกรัม จำนวน 2 ใบ
- ท่อเหล็กหนาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว สูง 12 นิ้ว พร้อมฝาปิด จำนวน 1 ชุด
- ท่อเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว สูง 10 นิ้ว พร้อมฝาปิด จำนวน 2 ชุด
- ท่อเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว พร้อมฝาปิด จำนวน 2 ท่อ
- ท่อสเตนเลสขนาด 4 หุน ยาว 6 เมตร จำนวน 1 เส้น
- วาล์วปิด-เปิดลม จำนวน 3 ตัว
- เครื่องวัดแรงดัน จำนวน 1 ชุด
- อุปกรณ์สารเคมี - สารซีโอไลต์ 1,000 กรัม จำนวน 1 ถุง
- ขยะพลาสติกใสหรือขุ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 1 กิโลกรัม
- ตัดส่วนบนของถังบรรจุก๊าซใบที่หนึ่งออก
- เจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ที่ส่วนล่างของถังจำนวน 8 รู
- นำท่อเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว สูง 12 นิ้ว พร้อมฝา เจาะรูขนาด 4 หุน เชื่อมด้วยท่อสเตนเลส ยาว 60 เซนติเมตร เป็นท่อนำก๊าซ สวมด้วยท่อเหล็กขนาด 1 นิ้ว ทำหน้าที่เป็นตัวหล่อเย็น(Condenser)
- เชื่อมท่อสเตนเลสกับท่อเหล็กขนาด 2 นิ้ว ยาว 15 เซนติเมตร ที่มีฝาปิด ใช้สำหรับบรรจุสารตัวเร่งปฏิกิริยา
- เชื่อมถังบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยท่อสเตนเลส ยาว 20 เซนติเมตร เข้ากับถังบรรจุน้ำมันดีเซลที่มีวาล์ปิด-เปิด
- เชื่อมท่อสเตนเลส ยาว 20 เซนติเมตร เข้ากับถังบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาต่อเข้ากับถังบรรจุน้ำมันเบนซินที่มีวาล์วปิด-เปิด
- เชื่อมท่อสเตนเลส ยาว 45 เซนติเมตร เข้ากับถังบรรจุก๊าซที่มีเครื่องวัดแรงดันและวาล์วปิด-เปิดเข้ากับถังบรรจุก๊าซใบที่สอง
- เติมตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ในถังให้เต็ม ปิดฝาให้สนิท
- คัดแยกพลาสติกใสกับขุ่นออกจากกัน ชั่งจำนวน 1 กิโลกรัม บรรจุในถังเหล็กขนาด 6 นิ้ว ปิดฝาให้สนิท
- เรียงฟืนรอบช่องว่างระหว่างถังพร้อมกับจุดไฟตามรูอากาศส่วนล่างของเตาใบนอก
- ปิดวาล์วตัวที่หนึ่งหรือสอง แล้วเปิดวาล์วตัวที่สาม
- ฟืนลุกติดไฟให้ความร้อนกับถังบรรจุพลาสติกประมาณ 45 นาที เข็มที่หน้าปัดวัดแรงดันจะเคลื่อนไปจนกระทั่งเข็มชี้นิ่ง ให้ปิดวาล์วตัวที่สาม แล้วปล่อยให้เตาเย็นลง
- เปิดวาล์วตัวที่หนึ่ง จะได้น้ำมันดีเซลผสมน้ำมันก๊าด ปริมาณ 0.7 ลิตรเปิดวาล์วตัวที่สองจะได้น้ำมันเบนซิน จำนวน 0.1 ลิตร เข็มที่วัดแรงดันจะชี้ที่เลข 60 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
- สามารถกำจัดขยะพลาสติกในครัวเรือนที่ไม่ก่อมลพิษ
- ได้น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน และก๊าซหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
- ประหยัดและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
- เป็นอุปกรณ์ที่สามารถผลิตได้ในราคาที่ถูก สามารถใช้ภายในครัวเรือนได้
- สามารถลดภาวะโลกร้อนได้
- เป็นการพัฒนาความรู้ให้กับคนในชุมชน ให้รู้จักรักษาสุขภาวะ ปราศจากสารพิษจากการกำจัดพลาสติก
ที่มา : ศูนย์เกษตรทฤษฎีใหม่สวนครูประทุม จังหวัดเชียงใหม่
กลับสู่หน้า "ไร่ชญาทิพ"
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น