Subscribe:

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การใช้น้ำหมักชีวภาพ

การใช้น้ำหมักชีวภาพปริมาณ 1 ต่อ 500 ส่วน ราดลงทั้งในน้ำทิ้งจากครัวเรือน ตลาดสด ฟาร์มสัตว์ หรือโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สารในแหล่งน้ำ รวมทั้งน้ำหมักชีวภาพยังสามารถนำไปใช้ได้ในการปรับสภาพน้ำในบ่อประมงทั้งบ่อเลี้ยงปลาและกุ้งได้เป็นอย่างดี

ลูกระเบิดจุลินทรีย์

เป็นการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำให้ดีขึ้นด้วยจุลินทรีย์เช่นเดียวกับการใช้น้ำหมักประกอบด้วยโคลนจากท้องน้ำ 50 กิโลกรัม รำ 10 กิโลกรัม ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดหรือผง 50 กิโลกรัม และน้ำหมักชีวภาพที่หมักจนได้ที่แล้ว 3 เดือนขึ้นไป โดยนำทุกอย่างมาผสมเข้าด้วยกัน จนสามารถปั้นเป็นก้อนขนาดลูกเปตอง นำไปผึ่งไว้ในที่ร่มจนแห้ง สามารถนำไปบำบัดน้ำได้ โดยใช้ในอัตราส่วน 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ล้านลิตร หรือ 25-50 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ไร่ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่เน่าเสีย

จากการทดลองพบว่า สามารถเพิ่มค่า DO ( Dissolved Oxygen ) หรือค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำจาก 3.5 ppm ( หรือส่วนหนึ่งในล้านส่วน ) เป็น 6.5 ppm ในเวลา 22 นาที

ออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับปลา หอย พืช และแอโรบิดแบคทีเรีย (แบคทีเรียที่ต้องการออกซิเจน) หากค่า DO แบคทีเรียในน้ำต่ำกว่า 3 ppm จะทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่ในภาวะกดดัน ถ้าค่า DO ค่าต่ำกว่า 2 ppm หรือ 1 ppm ปลาจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เนื่องจากปลาจะดำรงชีวิตและทำกิจกรรมตามปกติได้ที่ค่า DO ประมาณ 5-6 pmm ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก สำหรับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำ

การเพิ่มออกซิเจนในแหล่งน้ำช่วยให้เกิดแบคทีเรียที่สร้างสรรค์ขึ้น ส่งเสริมให้เกิดสัตว์หน้าเลนเช่น ไส้เดือน แมลงในน้ำ รวมทั้งไรน้ำ ซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติที่สำคัญยิ่งของสัตว์น้ำพวก หอย ปู และกุ้งรวมทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางธรรมชาติด้วย



ที่มา : ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมุกดาหารประสานมิตร จังหวัดมุกดาหาร
กลับสู่หน้า "ไร่ชญาทิพ"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น