Subscribe:

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

การปลูกกล้วยตีกลับ


วิธีการปลูกพืชตีกลับ หรือพืชกลับหัว

การปลูกพืชแบบนี้คือการนำลำต้นที่เป็นต้นพันธุ์ หรือกิ่งพันธุ์ มาตัดให้ได้ความยาวที่เหมาะสม (เพื่อให้ธาตุอาหารที่อยู่ในลำต้นเก่า เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของยอดอ่อนใหม่) ขึ้นอยู่กับชนิดสายพันธุ์ด้วย เช่น พืชที่มีการเจริญเติบโตไว สามารถใช้กิ่งหรือลำต้นที่ไม่ยาวมากนักได้ ต่างกับพืชที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตช้า ต้องใช้กิ่งหรือต้นพันธุ์ที่ค่อนข้างยาว เนื่องจากหากสารอาหารถูกใช้ไปหมดแล้วส่วนที่โผล่พ้นดินจะเกิดการเน่าสลายไปในที่สุด นำกิ่งหรือลำต้นพันธุ์ที่ได้ จัดเตรียมฝังลงดินโดยนำส่วนที่เป็นปลายยอด ฝังลงดินที่เรียกว่า การปลูกพืชกลับหัว ขั้นตอนนี้คล้ายกับการปลูกพืชแบบปกติ แต่สลับกันที่นำส่วนที่เป็นด้านยอด ปักลงในดิน แทนที่จะเป็นการนำส่วนของด้านรากปกติ ปักลงในดิน

ตามหลักการของการเจริญเติบโตของพืชคือการส่งอาหารจากรากสู่ใบ จากรากสู่ลำต้นขึ้นไปยังส่วนยอด ดังนั้น เมื่อพืชมีส่วนที่ไม่มีการใช้งาน หรือไม่สามารถใช้งานในส่วนนั้นได้จะมีการสลัดทิ้งคือการตัดการส่งอาหาร ทำให้ส่วนดังกล่าวเน่าเสีย แห้งตายไปในที่สุด และจะเกิดการแตกยอดอ่อน หน่ออ่อนเกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียงใหม่เพื่อทำการซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย ยกเว้นไม่สามารถแตกหน่อหรือยอดอ่อนในส่วนนั้นได้ จะทำการขยายและเติบโตในส่วนอื่นต่อไป

การดูแลรักษาพืชตีกลับ
การดูแลรักษาพืชที่ปลูกด้วยวิธีตามธรรมชาตินี้ ไม่จำเป็นต้องดูแลมาก เพียงแต่รดน้ำใส่ปุ๋ยธรรมดาเหมือนกับการดูแลพืชปกติ เหมือนเป็นการปลูกพืชแบบปกตินั่นเอง (ต่างกันเฉพาะวิธีการปลูก) และที่สำคัญหากสามารถปล่อยให้พืชเจริญเติบโตได้เอง ก็จะเป็นการดีมาก เพราะพืช จะเรียนรู้วิธีปรับตัวและอยู่รอดได้จากสภาวะผิดปกติที่ผู้ปลูกได้สร้างขึ้น

การเพิ่มมูลค่าพืชตีกลับ

การสร้างมูลค่าเพิ่มของพืชทุกชนิด ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นพืชตีกลับ หรือพืชกลับหัว แต่สามารถที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้พืช ที่มีแนวทางการเจริญเติบโตเองตามธรรมชาติ หรือด้วยวิธีการสร้างการเจริญเติบโตให้ผิดปกติเหล่านี้ สามารถทำได้ทันที ในระหว่างที่พืช มีการเติบโตพ้นช่วงต้นอ่อนมาแล้วและใกล้ที่จะให้ผลผลิตได้

กรณีศึกษา การปลูกกล้วยตีกลับ

การศึกษาวิธีการเพิ่มผลผลิตการปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม หรือพืชตระกูลกล้วย แบบกลับหัวหรือการปลูกพืชตีกลับ 1 หัวได้ 2 - 4 หน่อ ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนในการแตกหน่อ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นพันธุ์

การเพิ่มกลิ่น รสชาติ

การเพิ่มกลิ่น รสชาติให้กล้วย การฉีดหรือเติมกลิ่นไปยังท่อน้ำเลี้ยงจากส่วนลำต้นของพืช โดยการเจาะและใส่หัวเชื้อกลิ่นต่างๆ แต่ผลที่ได้ยังไม่มีการรับประกันว่าจะได้ออกมาตามกลิ่นที่เติมหรือไม่โดยปกติทั่วไป การเติมกลิ่นสตอเบอร์รี่ กลิ่นทุเรียน พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำได้ ส่วนกลิ่นอื่นๆ เช่น กลิ่นส้ม กลิ่นใบเตย กลิ่นนมแมว ยังอยู่ในขั้นทดลองเนื่องจากพืช มีการขจัดสารที่เป็นหัวเชื้อกลิ่นออกทำให้เจือจางได้ง่าย ดังนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องมีการลงทุนในเรื่องของการเพิ่มกลิ่นค่อนข้างมาก

ที่มา : ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านเขากลม จังหวัดกระบี่

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น